S Hotels and Resorts

การบริหารจัดการของเสีย

เป้าหมาย 

ภายในปี 2568 จะต้องบรรลุเป้าหมาย “Zero-waste to Landfill” ในทุกโรงแรม และลดขยะเศษอาหารลงร้อย ละ 10 ณ โครงการ CROSSROADS มัลดีฟส์

การลดขยะประเภทไม่อันตรายเป้าหมาย
1.การลดขยะไม่อันตรายและของเสียไม่อันตราย (ร้อยละ)10%
2.การลดขยะไม่อันตรายและของเสียไม่อันตรายต่อหน่วยการผลิต รายได้ จำนวนคน หรือต่ออื่นใด5%*
 หมายเหตุ: *การลดปริมาณขยะที่ไม่อันตรายต่อจำนวนผู้เข้าพัก

นโยบายการบริหารจัดการขยะและของเสีย 

กลุ่มบริษัทมุ่งมั่นในการสร้างนโยบายศูนย์กลางที่เชื่อมโยงกิจการทุกธุรกิจกับความรับผิดชอบทางสิ่งแวดล้อมและความยั่งยืน แนวทาง "Zero-waste to landfill, zero-waste to ocean" ที่กล่าวถึงนั้นเป็นการเน้นให้กิจการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ และลดการสร้างขยะและของเสียมากที่สุดเท่าที่เป็นไปได้ โดยมุ่งเน้นที่การลด (Reduce) การนำสิ่งที่ใช้ไปใช้ซ้ำ (Reuse) การรีไซเคิล (Recycle) และการปรับความคิดใหม่ (Rethink) เพื่อสร้างการใช้ทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น 

นอกจากนี้ กลุ่มบริษัทยังมุ่งเน้นให้มีการร่วมมือกับชุมชนในการลดปริมาณขยะและของเสีย โดยการจัดโปรแกรมชุมชนในระดับท้องถิ่น (Local Community Engagement Program) เพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในกระบวนการนี้ ทั้งนี้ยังมีการสนับสนุนแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน (Circular Economy) เพื่อให้มีการใช้ทรัพยากรและวัสดุอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนที่สุด ทั้งนี้เพื่อลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสนับสนุนความยั่งยืนทางสิ่งแวดล้อมในระยะยาว สามารถศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายการพัฒนาอย่างยั่งยืน https://investor.shotelsresorts.com/storage/content/corporate-governance/cg-document-and-download/20220727-shr-sd-policy-th.pdf 

แนวทางการบริหารจัดการขยะภายในโรงแรม 

บริษัทฯ จัดให้มีแนวทางการบริหารจัดการขยะในทุกโรงแรมและรีสอร์ตของบริษัทฯ โดยมีการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น โรงแยกขยะ ถังขยะ เครื่องกำจัดขยะ เป็นต้น นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้วางแนวทางอื่นๆ เช่น 

  • จัดให้มีการขัดแยกขยะ (Wastes segregation on the daily basis) 
  • ลดปริมาณการใช้บรรจุภัณฑ์ที่ไม่จำเป็น (Minimize the use of unnecessary containers) 
  • เปิดโอกาสให้ผู้รับซื้อขยะเข้ามารับขยะไปรีไซเคิล (Recycled by third-party garbage collector)

แนวทางการบริหารจัดการขยะอาหาร​

  • มีการคาดการณ์ปริมาณอาหารให้เพียงพอต่อจำนวนแขกผู้เข้าพัก (Forecast the amount of food to align with numbers of guests)​
  • มีการวัดขยะอาหารทุกวัน (Wastes measurement on the daily basis)​
  • มีการนำขยะอาหารไปทำน้ำหมักชีวภาพอีเอ็ม (Food Wastes to EM water) เพื่อใช้เป็นปุ๋ยภายในโรงแรมและแจกจ่ายให้แก่ชุมชน

โครงการพลาสติกใช้ครั้งเดียวทิ้งเป็นศูนย์ และการ Refill ของเหลว

โรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ และทราย ลากููน่า ภูเก็ต ได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกในโครงการ “โรงแรมไทยร่วมใจลดพลาสติก” หรือ “Thai Hotels Plastic Free Project” โดยสมาคมโรงแรมไทย นอกจากนี้ โรงแรมและรีสอร์ตของบริษัทสนับสนุนให้มีการ refill ของเหลว เช่น สบู่เหลว แชมพู หรือ น้ำยาล้างจานในครัว เพื่อเป็นการลดปริมาณขยะขวดพลาสติก

โครงการรักษาความสะอาดบนเกาะ ชายหาด และป่าโกงกาง

โรงแรมทราย พีพี ไอส์แลนด์ วิลเลจ มีการดำเนินการเก็บขยะทั้งหมด 45 ครั้ง ผ่านกิจกรรมเก็บขยะทุกวันอาทิตย์ พายคายัคเก็บขยะในป่าโกงกาง และกีฬาสีเก็บขยะ

โรงแรมสันติบุรี เกาะสมุย จัดกิจกรรมเก็บขยะริมชายหาด

โรงแรมทราย พีพี ไอซ์แลนด์ วิลเลจ จัดกิจกรรมเก็บขยะในป่าโกงกาง และริมชายหาดบนเกาะพีพี

Waste Journey ณ โครงการ CROSSROADS มัลดีฟส์

หมู่เกาะมัลดีฟส์เป็นพื้นที่ที่มีข้อจำกัดในการจัดการขยะ และ บางส่วนของเกาะยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่ถูกจัดให้เป็นเขตสงวนชีวมณฑลยูเนสโก (UNESCO Biosphere Reserve) เพื่อคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ จึงได้มีการจัดตั้ง ศูนย์บริหารจัดการขยะเพื่อความยั่งยืน (Waste to Wealth Centre) ในฐานะที่เป็นหน่วยงานกลางในการจัดการขยะของโครงการ CROSSROADS ให้เป็นไปอย่างครบวงจรและมีประสิทธิภาพ อีกทั้งได้มีเพื่อส่งขยะพลาสติกที่รวบรวมได้ให้แก่พันธมิตรอย่าง PARLEY นำน้ำมันจากการทำอาหารและอะลูมิเนียมที่ผ่านเครื่องบีบอัดส่งขายแก่ Secure Bag เพื่อนำขยะเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลให้เกิดประโยชน์ในด้านอื่นต่อไป

 ผลการดําเนินงาน

ปริมาณขยะที่ส่งเข้ากระบวนการรีไซเคิลปริมาณขยะพลาสติก
ที่นำส่ง PARLEY
ปริมาณขยะทะเลและชายฝั่งที่ลดได้
235.16 ตัน คิดเป็นร้อยละ 11.48230 กิโลกรัม12,142.57 กิโลกรัม

ความร่วมมือกับพันธมิตร – PARLEY สาธารณรัฐมัลดีฟส์

บริษัทฯ ได้รับโอกาสอันดีในการร่วมมือกับองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรในสาธารณรัฐมัลดีฟส์ อย่าง PARLEY เพื่อร่วมมือกันรวบรวมขยะพลาสติกจากทะเล เพื่อนำไป recycle หรือ แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อื่นๆ ตั้งแต่ปี 2563 โดยบริษัทฯ ได้รวบรวมขยะพลาสติกเพื่อส่งต่อให้แก่ PARLEY ในการนำไปแปรรูปให้สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในรูปแบบอื่น ๆ

ขยะพลาสติกจากทะเลให้ PARLEY
2563
780 กิโลกรัม
2564
250 กิโลกรัม
2565
40 กิโลกรัม
2566
230 กิโลกรัม