การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) หรือ “บริษัทฯ” ได้ให้ความสำคัญกับการบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทานโดยเน้นการจัดซื้อจัดจ้างที่โปร่งใส เป็นธรรม รักษาข้อมูลความปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้ส่งเสริมให้มีการจัดซื้อจัดจ้างสีเขียว (Green Procurement) โดยให้สนับสนุนการจ้างงานชุมชนในพื้นที่ รวมถึงการจัดซื้อจัดจ้างสินค้า วัตถุดิบ ผลิตภัณฑ์และการให้บริการที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
ความท้าทาย ความเสี่ยง และผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้น
ปัจจุบัน บริษัทฯ ทำธุรกรรมจัดซื้อจัดจ้างกับคู่ค้าจำนวนมากทั้งในและต่างประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องบริหารจัดการคู่ค้าตามนโยบายและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง และนโยบายอื่นๆ ของบริษัทฯ อีกทั้ง บริหารความเสี่ยงคู่ค้าเพื่อมิให้เกิดผลกระทบต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ โดยมีการพิจารณาโอกาสและผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นกับสามปัจจัยหลัก ได้แก่ 1. ด้านสิ่งแวดล้อม (Environment) 2.ด้านสังคม (Social) และ 3. ด้านธรรมาภิบาล (Governance) หรือ ESG ซึ่งมีอิทธพลต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสีย ดังนั้น บริษัทฯ จึงจัดให้มีฝ่ายงานที่รับผิดชอบด้านการจัดซื้อจัดจ้าง (ฝ่ายจัดซื้อฯ) ณ สำนักงานใหญ่ และ ณ โรงแรม เพื่อให้การบริหารจัดการด้านการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามนโยบายบริษัทฯ มีความยืดหยุ่น และมีประสิทธิภาพ
ในการนี้ ฝ่ายจัดซื้อได้ทำงานร่วมกับฝ่ายบริหารความเสี่ยงเพื่อจัดกลุ่มคู่ค้า รวมถึง วิเคราะห์ข้อมูลและประเมินความเสี่ยง ทั้งความเสี่ยงในด้านอุปทาน (supply risk) และ ความเสี่ยงด้านความยั่งยืน (sustainability risk) และประเมินศักยภาพของคู่ค้าของบริษัทฯ เป็นระยะ ๆ เพื่อยกระดับการบริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้าให้สามารถตอบสนองต่อความต้องการและการดำเนินการของธุรกิจบริษัทฯ ได้อย่างต่อเนื่อง นอกจากนี้ บริษัทฯ เฝ้าระวังผลกระทบในด้านต่างๆ ที่อาจจะเกิดขึ้นกับห่วงโซ่อุปทานของบริษัทฯ อาทิเช่น ภัยทางธรรมชาติที่อาจส่งผลกระทบต่อต่อปริมาณและราคาสินค้าในพื้นที่ที่บริษัทฯ ดำเนินการ เป็นต้น ดังนั้น บริษัทฯ จึงจัดให้มีแผนสำรองสำหรับสินค้าและบริการบางประเภทที่มีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ทั้งในและต่างประเทศ
กลยุทธ์การบริหารจัดการห่วงโซ่อุปทาน
บริษัทฯ ได้กำหนดกลยุทธ์การบริจัดการห่วงโซ่อุปทาน ดังนี้
ความมุ่งมั่นและเป้าหมาย
บริษัทฯ มุ่งมั่นที่จะสร้างกรอบการดำเนินงานด้านการบริหารห่วงโซ่อุปทานที่โปร่งใสและเป็นธรรม โดยคำนึงถึงผลประโยชน์สูงสุดของบริษัทฯ และผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วน รวมทั้งสังคมและสิ่งแวดล้อม ทั้งนี้ บริษัทฯ พยามส่งเสริมให้เกิดเศรษฐกิจหมุนเวียน และยกระดับเศรษฐกิจชุมชน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่บริษัทฯ ดำเนินการ ผ่านการจ้างงานและการซื้อสินค้าจากชุมชน โดยมีฝ่ายจัดซื้อดำเนินการพิจารณาความเหมาะสมและเปรียบเทียบราคาสินค้าและบริการ ทั้งนี้ บริษัทฯได้กำหนดเป้าหมาย
เป้าหมายด้านการบริหาห่วงโซ่อุปทาน | |||
ตัวชี้วัด | เป้าหมาย | ทำได้ | |
1. | การสื่อสารจรรณยาบรรณคู่ค้าเพื่อส่งเสริมให้แก่คู่ค้าปฏิบัติตาม | 100% | 100% |
2. | กาจัดงาน S and SHR Supplier Day เพื่อพบปะและสื่อสารกับคู่ค้า | อย่างน้อย 1 ครั้ง/ปี | 1 ครั้ง/ปี |
3. | การทำ on-site ESG audit คู่ค้า | อย่างน้อย 1 บริษัท/ปี | 1 บริษัท |
4. | กรณีร้องเรียนการฝ่าฝืนจรรณยาบรรณคู่ค้า | 0 กรณี | 0 กรณี |
5. | มูลค่าการจัดซื้อสินค้าและบริการจากชุมชน | ไม่น้อยกว่า 5 ล้านบาท | 109 ล้านบาท |
กรอบนโยบาย การบริหารคู่ค้า และกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงด้านความยั่งยืน
นโยบายการจัดซื้อจัดจ้าง (Procurement Policy)
บริษัทฯ ได้กำหนดแนวปฏิบัติเกี่ยวกับการจัดซื้อจัดจ้างเพื่อให้เกิดความโปร่งใส เป็นธรรม และเป็นไปในทิศทางเดียวกับแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของกลุ่มสิงห์ เอสเตท โดยมีการกำหนดบทบาท หน้าที่และความรับผิดชอบ ให้สอดคล้องกับงานและกระบวนการจัดซื้อจัดจ้าง
นโยบายกระบวนการจัดซื้อสีเขียว (Green Procurement Policy)
บริษัทฯ ให้ความสำคัญและส่งเสริมการรักษาสิ่งแวดล้อมและการยกระดับเศรษฐกิจชุมชนผ่านการจ้างงานและการจัดซื้อสินค้าที่ผลิตในท้องถิ่น อีกทั้ง กำหนดให้การจัดซื้อจัดจ้างสีเขียวต้องเป็นการจัดซื้อจัดจ้างที่ยุติธรรมและมีจริยธรรม ทั้งนี้ บริษัทฯให้ความสำคัญด้านการจัดซื้อผลิตภัณฑ์และวัตถุดิบอาหารที่สะอาดและถูกสุขลักษณะเพื่อนำมาสร้างสรรค์เมนูจากฟาร์มสู่โต๊ะ
ในการนี้ นโยบายกระบวนการจัดซื้อสีเขียวสนับสนุนให้คู่ค้าทุกประเภทหลีกเลี่ยงการใช้สารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อม อีกทั้ง ต้องเป็นสินค้าและผลิตภัณฑ์ที่ไม่ส่งผลกระทบทางตรงหรือทางอ้อมต่อความหลากหลายทางชีวภาพ และสามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติหรือเข้าสู่กระบวนการรีไซเคิลได้
ทั้งนี้ บริษัทฯ กำหนดให้ฝ่ายจัดซื้อและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องดำเนินการพิจารณาจัดซื้อสินค้าและบริการอย่างรอบคอบ โดยปราศจากความขัดแย้งทางผลประโยชน์ทั้งสองฝ่าย
จรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct)
บริษัทฯ ได้กำหนดให้คู่ค้าทุกรายศึกษาและปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct) และนโยบายอื่น ๆ ของบริษัทฯ อย่างเคร่งครัด โดยเน้นการดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบ โปร่งใส เป็นธรรม พร้อมทั้งสร้างความสมดุลระหว่างเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนต่อไปในอนาคต
ทั้งนี้ บริษัทฯ บริหารจัดการความเสี่ยงของคู่ค้าโดยวิเคราะห์การปฏิบัติตามจรรยาบรรณคู่ค้าธุรกิจ (Supplier Code of Conduct) และนโยบายอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องของบริษัทฯ อีกทั้ง จัดให้มีการประเมินคู่ค้า (ESG due diligence) ก่อนการทำธุรกรรม อาทิเช่น ประเด็นหรือผลกระทบใด ๆ ที่มีความเกี่ยวโยงกับการพัฒนาความยั่งยืน แนวทางการบริหารจัดการเพื่อสร้างความสมดุลระหว่างชุมชนและสิ่งแวดล้อม แนวทางการบริหารจัดการด้านความปลอดภัย อาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมการทำงาน การปฏิบัติต่อแรงงานอย่างเป็นธรรม การเคารพสิทธิมนุษย์ชน แนวทางการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เป็นต้น
นโยบายการบริหารสินเชื่อทางการค้ากับคู่ค้า
บริษัทฯ ให้ความสำคัญด้านการทำธุรกิจกับคู่ค้า และยึดมั่นความโปร่งใสและเป็นธรรม โดยเน้นการบริหารธุรกิจให้เจริญเติบโตไปพร้อม ๆ กับคู่ค้า และปฏิบัติตามจรรยาบรรณธุรกิจและจรรยาบรรณคู่ค้าอย่างเคร่งครัด ทั้งนี้ บริษัทฯ มีแนวทางการบริหารสภาพคล่องตามระยะเวลาสินเชื่อทางการค้า ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในกรอบเวลา 30 วัน ยกเว้นกรณีพิเศษที่บริษัทฯ จำเป็นต้องขยายเวลาเพิ่มเติมให้กับคู่ค้า
ระยะเวลาการชำระเงิน | ค่าเฉลี่ยที่เกิดขึ้นจริง | |
2565 | 2566 | |
30-60 วัน | 35 วัน | 35 วัน |
นิยามความหมายของคู่ค้าหลักและคู่ค้ารอง
คู่ค้าหลัก (Critical Supplier) คือ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือผู้ให้บริการ รวมถึง ผู้ผลิตสินค้า และคู่ค้าหลักที่บริษัทฯ ทำธุรกิจโดยตรงและมีความสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ ซึ่งหาคู่ค้ารายอื่นมาทดแทนได้ยาก หรือมีจำนวนน้อย โดยบริษัทฯ จัดให้คู่ค้าอยู่ในกลุ่ม Tier 1 ของรายชื่อคู่ค้าสำคัญของบริษัทฯ โดยมีหลักเกณฑ์การพิจารณา ดังนี้
คู่ค้ารอง (Non-critical Supplier) คือ ผู้จัดจำหน่ายสินค้าหรือผู้ให้บริการทั่วไป รวมถึงแต่ไม่จำกัดอยู่เพียง ผู้ผลิตสินค้า และคู่ค้ารองที่ไม่ส่งผลกระทบอย่างมีนัยสำคัญต่อการดำเนินธุรกิจของบริษัทฯ แต่อาจจะส่งผลกระทบเพียงเล็กน้อย และอยู่ภายใต้กรอบที่บริษัทฯ สามารถบริหารจัดการความเสี่ยงได้ โดยการหาคู่ค้ารายอื่น ๆ ในตลาดมาทดแทน และไม่มีความเสี่ยงด้านสังคม และสิ่งแวดล้อมที่อยู่ในระดับต่ำ
หลักเกณฑ์การพิจารณาคู่ค้าของบริษัทฯ
ทั้งนี้ บริษัทฯ จะพิจารณาคู่ค้าของคู่ค้า (Non-tier 1) โดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกัน และคำนึงถึงปัจจัยที่มีความสำคัญต่อการดำเนินงาน รวมไปถึงผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นต่อการดำเนินธุรกิจอย่างต่อเนื่องเป็นสำคัญ เพื่อสรรหาคู่ค้าของคู่ค้าที่มีความสำคัญ (Critical Non-tier 1)
คู่ค้าประเภทต่าง ๆ ของ SHR | ||
ประเภทคู่ค้า | จำนวน | % ของคู่ค้าทั้งหมด |
1.คู่ค้าทั้งหมดที่มีการซื้อขาย (Total Supplier) | 1,738 | 100.00% |
2.คู่ค้าที่มีความสำคัญ (Critical Tier-1) (i.e. diesel suppliers) | 16 | 0.92% |
3.คู่ค้าของคู่ค้าทีมีความสำคัญ (Critical non-tier 1) | 0 | 0 |
ข้อมูล ณ เมษายน ปี 2567 (2024) |
การประเมินความเสี่ยงด้านความยั่งยืนของคู่ค้า
บริษัทฯ ทำการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้าทุก ๆ ปี เพื่อให้แน่ใจว่าคู่ค้าของบริษัทฯมีขีดความสามารถในการจัดส่งสินค้าและให้บริการแก่บริษัทฯตามสัญญาที่ลงนามไว้ โดยบริษัทฯ ได้ทำการค้นหาข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับบริษัทคู่ค้า การประเมินจรรยาบรรณคู่ค้า อีกทั้ง พูดคุยและสัมภาษณ์ (in-depth interview) ข้อมูลในเชิงลึกผ่านการประชุม ก่อนการลงนามทำธุรกรรม โดยผลจากการประเมินความเสี่ยงของคู่ค้า สามารถกำหนดจำนวนกลุ่มคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูงด้านความยั่งยืน ดังนี้
ประเภทคู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง | จำนวน |
1.คู่ค้าที่มีความเสี่ยงสูง (High-Risk Tier 1 Suppliers) | 0 |
2.คู่ค้าของคู่ค้าทีมีความสำคัญ และมีความเสี่ยงสูง (High-Risk Critical non-tier 1 Suppliers) | 0 |
ข้อมูล ณ เมษายน ปี 2567 (2024) |