S Hotels and Resorts

สิทธิมนุษยชน (Human Rights)

บริษัท เอส โฮเทล แอนด์ รีสอร์ท จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย หรือ “บริษัทฯ” ให้ความสำคัญด้านสิทธิมนุษยชนเนื่องจากสิทธิมนุษยชนเป็นหลักปฏิบัติพื้นฐานที่ทุกคนควรได้รับ อีกทั้ง บริษัทฯ มีการดำเนินธุรกิจในหลายประเทศ ส่งผลให้บริษัทฯ ต้องบริหารความหลากหลายทางเพศ เชื้อชาติ ประเพณีและวัฒนธรรม รวมถึงความแตกต่างของลักษณะทางสังคมในแต่ละประเทศ ทั้งนี้ บริษัทฯ ยึดมั่นและปฏิบัติตามกฎหมายแรงงานและกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนอย่างเคร่งครัด รวมถึงจัดให้มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชน ตามกรอบเวลาที่บริษัทฯ กำหนด โดยมุ่งเน้นไปยังประเด็นที่อ่อนไหว เช่น การปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การไม่ว่าจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด เป็นต้น

นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้กำหนดให้มีนโยบายสิทธิมนุษยชนเพื่อใช้บังคับกับบริษัทฯ และบริษัทย่อย โดยเฉพาะโรงแรมของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ ยังกำหนดให้สิทธิมนุษยชนเป็นส่วนหนึ่งของจริยธรรมคู่ค้า เพื่อใช้สื่อสารและสนับสนุนให้คู่ค้าของบริษัทฯ ทุกรายให้ความสำคัญด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนของบุคลากรภายในองค์กรของคู่ค้า  

ในการนี้ บริษัทฯ เคารพสิทธิมนุษยชน โดยให้ความสำคัญด้านการปกป้องสิทธิมนุษยชนของพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอย่างเท่าเทียมกัน ปราศจากการกีดกัน และถือปฏิบัติตามกรอบนโยบายสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯ เปิดโอกาสให้พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถให้คำแนะนำเกี่ยวกับการยกระดับสิทธิมนุษยชน หรือยื่นร้องเรียนเกี่ยวกับการฝ่าฝืนนโยบายสิทธิมนุษยชนแก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้อย่างอิสระ

แนวทางการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Management Guidelines)

            บริษัทฯ ได้กำหนดกรอบการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชนเพื่อให้สอดคล้องกับมาตรฐานสากล และบริบทของบริษัทฯ โดยเน้น 1.การประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน 2.การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้นหรืออาจเกิดขึ้น 3.การบูรณาการนโยบายกับการประเมิน รวมถึงการควบคุมภายในและภายนอก 4.การติดตามและการรายงานผลการดำเนินงาน และ 5.การแก้ไขให้ถูกต้องและเยียวยา

โครงสร้างกำกับดูแล บทบาทและความรับผิดชอบของคณะกรรมการและฝ่ายจัดการในการบริหารจัดการด้านสิทธิมนุษยชน

คณะกรรมการบริษัท  มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการกำกับดูแล ทบทวน และพิจารณาอนุมัตินโยบายฯ รวมถึงรับทราบรายงานกรณีการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนตามช่องทางการรายงานของบริษัทฯ  
คณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน  มีบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบในการทบทวน และพิจารณาให้ความเห็นชอบนโยบายฯ ให้แนวทางและกำกับดูแล การดำเนินงานของบริษัทฯ ให้เป็นไปตามนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน รับทราบความคืบหน้าและส่งเสริมการดำเนินงานที่สนับสนุนการเคารพต่อหลักสิทธิมนุษยชน รวมถึงบทบาทหน้าที่และความรับผิดชอบด้านสิทธิมนุษยชนอื่น ๆ ที่สอดคล้องกับกฎบัตรของคณะกรรมการบรรษัทภิบาลและการพัฒนาอย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ยังมีบทบาทในการรับทราบรายงานกรณีการละเมิดที่เกี่ยวข้องกับสิทธิมนุษยชนตามช่องทางการรายงานของบริษัทฯ

เป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Targets)

            บริษัทฯ วางเป้าหมายด้านสิทธิมนุษยชน ดังนี้

 เป้าหมาย
บริษัทฯบริษัทฯ มีกรณีฝ่าฝืนนโยบายมนุษยชนเป็นศูนย์ พนักงานทุกคนได้รับการสื่อสารและเรียนรู้นโยบายสิทธิมนุษยชน พนักงานทุกคนได้ทำข้อสอบจรรณบรรณธุรกิจคู่ค้าทุกรายได้รับการสื่อสารจรรณยาบรรณคู่ค้า

นโยบายสิทธิมนุษยชน (Human Rights Policy)

            บริษัทฯ ให้ความสำคัญและมุ่งมั่นที่จะดำเนินธุรกิจให้เป็นไปตามหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและผู้มีส่วนได้ส่วนได้เสียทุกฝ่าย ในการนี้ ฝ่ายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของบริษัทฯ ได้จัดทำนโยบายสิทธิมนุษยชนเพื่อใช้เป็นกรอบนโยบายและแนวปฏิบัติในการปกป้องสิทธิมนุษยชนของพนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง อาทิเช่น พนักงาน และลูกค้า นอกจากนี้ บริษัทฯ ให้ความเคารพความเป็นส่วนตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน ลูกค้า และผู้ถือหุ้น โดย บริษัทฯ ได้จัดให้มีนโยบายและมาตรการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เพื่อรักษาความเป็นส่วนตัวของผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง

ทั้งนี้ บริษัทฯ ดำเนินธุรกิจด้วยความระมัดระวังเพื่อมิให้เกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดห่วงโซ่ธุรกิจตามหลักปฏิบัติสากล กฎหมายท้องถิ่นและนโยบายสิทธิมนุษยชนของบริษัทฯ นอกจากนี้ บริษัทฯ สนับสนุนให้พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องให้ความเคารพความแตกต่างทางทางเพศ  เชื้อชาติ ความเชื่อทางศาสนา ความคิด ความแตกต่างทางร่างกาย สีผิว ถิ่นกำเนิด ความพิการ อายุ และความแตกต่างหลากหลายอื่นๆ อย่างไรก็ดี ในกรณีที่มีกรณีฝ่าฝืนนโยบายของบริษัทฯ ทางบริษัทฯ จะดำเนินพิจารณาข้อร้องเรียนด้วยความเป็นธรรม และเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบตามหลักเกณฑ์ วิธีการและมาตรการที่บริษัทฯ กำหนด

การสนับสนุนให้คู่ค้าปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชน (Encourage Supplier to comply with Supplier Code of Conduct)

            บริษัทฯ สนับสนุนให้คู่ค้าของบริษัทฯ ทุกรายปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะกฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการปกป้องสิทธิมนุษยชนเพื่อส่งเสริมให้คู่ค้าดำเนินธุรกิจด้วยความเคารพสิทธิมนุษยชน ตระหนักถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่เท่าเทียมกันและปฏิบัติด้วยความเป็นธรรม ไม่จ้างงานเด็กที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนด และไม่บังคับใช้และกดขี่แรงงาน ในการนี้ บริษัทฯ ได้สื่อสารให้คู่ค้าทุกรายรับทราบและปฏิบัติตามจรรณยาบรรณคู่ค้าของบริษัทฯ

สามารถอ่านรายละเอียดของจรณยาบรรณคู่ค้าเพิ่มเติมได้จากเว็ปไซต์ของบริษัทฯ https://investor.shotelsresorts.com/en/corporate-governance/cg-document-and-download

การประเมินผลกระทบที่เกิดขึ้น หรืออาจเกิดขึ้น

การระบุประเด็นด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Issues Identification)

            บริษัทฯ ระบุประเด็นหลักด้านสิทธิมนุษยชนที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางธุรกิจของโรงแรมและคาดการณ์อาจจะเป็นความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งออกเป็น 7 ประเด็นดังนี้

1. การมีส่วนร่วมของชุมชนการจัดการที่ดินคุณภาพ ความพอเพียง และ การเข้าถึงแหล่งน้ำผลกระทบด้านวัฒนธรรมการจัดการความปลอดภัยสภาะแวดล้อมการมีส่วนละเมิดสิทธิ
2. แรงงานข้ามชาติการจัดหาแรงงานหนังสือเดินทาง/เอกสารแสดงตนเงื่อนไขการจ้างงานสภาพแวดล้อมใน
ที่ทำงาน
3. การใช้ลูกจ้างเหมาค่าแรง  การจ้างงานสภาพแวดล้อมในที่ทำงานการจัดการลูกจ้างรับเหมาค่าแรง
4. องค์กรอื่นที่มีความสัมพันธ์ทางธุรกิจ  กระบวนการผลิตสภาพแวดล้อมในที่ทำงานสุขภาพและความปลอดภัยการมีส่วนร่วม
5. ลูกจ้างการจ้างงานสภาพแวดล้อมในที่ทำงานการเลือกปฏิบัติเสรีภาพในการสมาคมและการร่วมเจรจาต่อรองวินัยและการลงโทษความเป็นส่วนตัวของลูกจ้าง
6. ลูกจ้างชั่วคราว  การจ้างงานสภาพแวดล้อมในที่ทำงานการเลือกปฏิบัติ
7. ลูกค้า  การสำรองห้องพักความปลอดภัยการเลือกปฏิบัติการคุ้มครองข้อมูล
ส่วนบุคคล

เกณฑ์การประเมินความเสี่ยง (Risk Criteria) เป็นเครื่องมือในการชี้บ่งชี้ระดับความเสี่ยงของปัจจัยในการดำเนินงานของบริษัทฯ โดยมีการกำหนดแนวทางการประเมินความเสี่ยง (risk management guideline) ผลกระทบ (Impact) และโอกาสเกิด (Likelihood)

ผลกระทบ (Impact)

บริษัทฯ ได้จัดกลุ่มของความเสียหายที่มีแนวโน้มจะเกิดหรืออาจเกิดขึ้นเนื่องจากเหตุการณ์ฝ่าฝืนกฎหมายและ/หรือนโยบายด้านสิทธิมนุษยชน โดยแบ่งออกเป็น 11 ด้าน ดังนี้

กลยุทธ์องค์กรกฎหมาย กฎเกณฑ์ ระเบียบต่าง ๆ
การเงินพนักงาน ลูกจ้าง
ชื่อเสียง และภาพลักษณ์ความปลอดภัย อาชีวอนามัย
การดำเนินธุรกิจสิ่งแวดล้อม
การบริหารโครงการชุมชน
ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ      

ระดับความเสี่ยง (Risk Level)

ระดับความเสี่ยงแทนด้วยคำอธิบาย
สูงมากVHระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ จำเป็นต้องเร่งจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ทันที
สูงHระดับความเสี่ยงที่ไม่สามารถยอมรับได้ ต้องจัดการความเสี่ยงให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ต่อไป
ปานกลางMระดับความเสี่ยงที่องค์กรพอยอมรับได้ แต่ต้องมีการควบคุมเพื่อป้องกันไม่ให้ความเสี่ยงเคลื่อนย้ายไปยังระดับที่องค์กรยอมรับไม่ได้
ต่ำLระดับความเสี่ยงที่องค์กรยอมรับได้ โดยไม่ต้องมีการจัดการเพิ่มเติม

 แนวทางในการจัดการความเสี่ยง

  • การหลีกเลี่ยง (Avoid) เป็นการดำเนินการเพื่อหลีกเลี่ยงเหตุการณ์ที่ก่อให้เกิดความเสี่ยง มักใช้ในกรณีที่ความเสี่ยงมีความรุนแรงสูง ไม่สามารถหาวิธีลด/จัดการให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้
  • การร่วมจัดการ (Share) เป็นการร่วมหรือถ่ายโอนความเสี่ยงทั้งหมดหรือบางส่วนไปยังบุคคล/หน่วยงานภายนอกองค์กร ให้ช่วยแบกรับภาระความเสี่ยงแทน เช่น การซื้อกรมธรรม์ประกันภัย
  • การลด (Reduce) เป็นการจัดหามาตรการจัดการ เพื่อลดโอกาสการเกิดเหตุการณ์ความเสี่ยง หรือลดผลกระทบที่อาจเกิดขึ้น ให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ เช่น การเตรียมแผนฉุกเฉิน (Contingency Plan)
  • การยอมรับ (Accept) ความเสี่ยงที่เหลือในปัจจุบันอยู่ในระดับที่ยอมรับได้ โดยไม่ต้องดำเนินการใด ๆ เพื่อลดโอกาสหรือผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นอีก มักใช้กับความเสี่ยงที่ต้นทุนของมาตรการจัดการสูง ไม่คุ้มกับประโยชน์ที่ได้รับ
  • การดำเนินการต่อ (Pursue) เป็นการดำเนินการเพื่อรับมือกับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้น แต่ต้องระวังไม่ให้ความเสี่ยงสูงเกินกว่าขอบเขตช่วงที่ยอมรับได้

ช่องทางการรับข้อร้องเรียน

พนักงานและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องสามารถยื่นเรื่องร้องเรียนหรือแจ้งเบาะแสเกี่ยวกับละเมิดสิทธิมนุษยชนหรือได้รับการปฏิบัติที่ไม่เป็นธรรมผ่านช่องทางการแจ้งข้อร้องเรียน (Whistleblowing) ที่บริษัทฯ กำหนด อาทิเช่น อีเมล compliance@shotelsresorts.com รวมถึงช่องทางอื่น ๆ ที่บริษัทฯ กำหนด (โปรดศึกษาเพิ่มเติมได้ที่ https://www.shotelsresorts.com/th/whistleblowing-th/)

ทั้งนี้ บริษัทฯ จะเก็บเรื่องร้องเรียนเป็นความลับและดำเนินการพิจารณาเรื่องร้องเรียนตามกรอบนโยบายการรับเรื่องร้องเรียน

จำนวนข้อร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน 

25652566
0 ข้อร้องเรียน0 ข้อร้องเรียน

การสื่อสารและอบรม

บริษัทฯ มีการสื่อสารนโยบายและจัดอบรมหลักสูตรสิทธิมนุษย์ชนอย่างต่อเนื่องเป็นประจำทุกปี เพื่อทำความเข้าใจกับพนักงานของบริษัทฯ รวมถึงยังเป็นการแนะแนวเกี่ยวกับหลักปฏิบัติ เช่น การยกระดับการสื่อสารด้านมาตรการป้องกันการกีดกันทางเพศผ่านกาพูดคุยกับฝ่ายงานที่เกี่ยวข้อง ส่วนหนึ่งเพื่อให้เป็นมาตรฐานการทำงานเดียวกันทั่วทั้งองค์กร

นอกจากนี้ในปี 2566 บริษัทฯ ได้มีการสื่อสารและสนับสนุนให้พันธมิตรและคู่ค้าทางธุรกิจมีความตระหนักถึงการดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานการปกป้องสิทธิมนุษยชน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของการพัฒนาอย่างยั่งยืน ผ่านการจัดงาน S & SHR supplier day เป็นประจำทุกปี  

คู่ค้าและคู่ความร่วมมือตลอดสายโซ่อุปทาน

บริษัทฯ มีการวางแผนการทำงานด้านสิทธิมนุษยชน โดยบริษัทฯ จะทำการสื่อสารจรรยาบรรณคู่ค้าให้คู่ค้ารับทราบและนำไปปฏิบัติ รวมถึงมีการสุ่มทำ ESG Audit ด้านสิทธิมนุษยชน ทุกปี

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน

การตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence)GRI 407-1, GRI 408-1, GRI 409-1, GRI 412-1, GRI 413-2, GRI 414-1, GRI 414-2

บริษัทฯ จัดให้มีการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนเพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีการฝ่าฝืนและ/หรือละเมิดนโยบายสิทธิมนุษยชน โดย ฝ่ายงานการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้มีการลงพื้นที่เพื่อพูดคุยกับผู้เกี่ยวข้อง เช่น พนักงาน และตรวจสอบการดำเนินงานของโรงแรม นอกจากนี้ บริษัทฯ ได้จัดให้มีการประเมินความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนภายหลังจากการเข้าพื้นที่ตรวจสอบ ซึ่งครอบคลุมประเด็นสำคัญๆ เช่น การใช้แรงงานเด็กซึ่งคอบคลุมถึงการจ้างงานประจำและชั่วคราว การเลือกปฏิบัติ การค้ามนุษย์ การกีดกันและการเลือกปฏิบัติ การใช้แรงงานบังคับ การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นต้น

รายงานการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนของบริษัท (PDF)